ที่ปรึกษา การสำรวจ Engagement Survey

ที่ปรึกษา การสำรวจ Engagement Survey

 

 

 1. วัตถุประสงค์โครงการ                                                                                                                               

               1) เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็น  ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อองค์กร เพื่อใช้ในการตัดสินใจในระดับนโยบายด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               2) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลจากพนักงานสู่ผู้บริหารองค์กร

 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน

               1)  พัฒนาแบบสำรวจและหารือร่วมกับผู้บริหารเพื่อเห็นชอบ 

               เป็นขั้นตอนการพัฒนาแบบสำรวจและคำถามในแต่ละด้านให้ครอบคลุมประเด็นที่ผู้บริหารให้ความสนใจ  ทั้งนี้แบบสอบถามจะถูกนำเสนอผู้บริหารก่อนนำออกใช้จริง  เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการกระทบต่อความรู้สึกที่อาจเป็นลักษณะเฉพาะภายในองค์กร

               2)   จัดประชุมกลุ่มเป้าหมาย หรือทำแบบสำรวจ Online ผ่าน Google form     

                      

 

 

3)   ประมวลผลข้อมูล

               ที่ปรึกษาจะนำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาไปทำการสรุปผลข้อมูล โดยใช้วิธีการทางสถิติที่กำหนด  และจัดทำเป็นรายงานเบื้องต้นนำเสนอต่อผู้บริหาร

                4 )   สัมภาษณ์เชิงลึกในประเด็นปัญหาที่น่าสนใจเพิ่มเติม

               ในบางประเด็นที่ผลการสำรวจอาจจะต่ำมากหรือสูงมากในกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มและผู้บริหารสนใจในรายละเอียดเพิ่มเติม  ทีมที่ปรึกษาจะทำการสัมภาษณ์กลุ่มพนักงานเป้าหมายในเชิงลึก ( Focus group )   เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม    

                5. นำเสนอรายงานต่อผู้บริหาร

               เมื่อการทำรายงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ทีมที่ปรึกษาจะทำการนำเสนอผลสรุปจากการศึกษาต่อคณะผู้บริหารขององค์กร  ตามวันเวลาที่เหมาะสม

 

3. แผนการดำเนินโครงการ   

               -

4.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

4.1     แบบสอบถามโดยแบ่งคำถามออกเป็นหมวดต่างๆ  ดังนี้

o  หมวดที่  ข้อมูลทั่วไปของพนักงาน  เช่น หน่วยงานที่สังกัด ตำแหน่ง , อายุงาน , อายุตัว 

o  หมวดที่  ข้อมูลความพึงพอใจเรื่องความท้าทายในงานที่รับผิดชอบ

o  หมวดที่  3  ข้อมูลความพึงพอใจเรื่องกระบวนการ อุปกรณ์เครื่องมือในการทำงาน

o  หมวดที่  ข้อมูลความพึงพอใจเรื่องการประเมินผลงาน

o  หมวดที่ ข้อมูลความพึงพอใจเรื่องการบริหารของหัวหน้างาน

o  หมวดที่ ข้อมูลความพึงพอใจเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน  การประสานงาน

o  หมวดที่ ข้อมูลความพึงพอใจเรื่องการฝึกอบรม

o  หมวดที่ ข้อมูลความพึงพอใจเรื่องความก้าวหน้าในสายอาชีพ 

o  หมวดที่ ข้อมูลความพึงพอใจเรื่องค่าตอบแทนในการทำงาน

o  หมวดที่ 10 ข้อมูลความพึงพอใจเรื่องการสื่อสารภายในองค์กร

o  หมวดที่ 11 ข้อมูลความพึงพอใจเรื่องทิศทาง  นโยบายและการบริหารของผู้บริหารระดับสูง

o  หมวดที่ 12 ข้อมูลความพึงพอใจเรื่องภาพพจน์องค์กร


               หมายเหตุ  :  หมวดคำถามอาจปรับแก้ เพิ่มเติม ตามความเหมาะสม


  4.2   แบบสัมภาษณ์  และการสัมภาษณ์แบบ Focus Group


 

5. สถิติที่ช้ในการประมวลผล  ใช้สถิติเชิงบรรยาย และเทคนิค Data Mining เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยสาเหตุ

o  ค่าร้อยละ  ความถี่  ฐานนิยม 

o  Multiple Regression , Data Mining 

 

6. วิธีการรายงานผล


Ø  จัดทำเป็นเอกสารรายงานจำนวน  ชุด  โดยเนื้อหารายงานจะบรรยายสภาพปรากฏการณ์ของด้านต่างๆ  ที่ศึกษา  และปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักของ Engagement เช่น

o  อายุงานและความพึงพอใจในสวัสดิการ  ระดับตำแหน่งและความพึงพอใจในเงินเดือน

o  อายุตัวและความพึงพอใจในสวัสดิการ  ตำแหน่งงานและความพึงพอใจต่องานที่รับผิดชอบ  

o   ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมุ่งมั่นทุ่มเททำงานของบุคลากร (Strive)  ความภาคภูมิใจในองค์กร (Say) และความอยากทำงานอยู่กับองค์กร (Stay)


ทั้งนี้ในรายงานแต่ละประเด็นจะทำการเสนอแนะข้อคิดเห็นเบื้องต้นเพื่อการปรับปรุงพัฒนาระบบทรัพยากรบุคคล  เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับองค์กร

 

 

Ø  ไฟล์ข้อมูล Excel , Google Sheet , วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Looker Studio หรือ Power BI  และ RapidMiner     

 

 

 

 

 

7. สิ่งที่องค์กรจะได้รับหลังเสร็จสิ้นโครงการ

รายงานการสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติของพนักงาน  พร้อมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขเบื้องต้น